อุปสรรคและการสร้างทักษะในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยศศิมา สุขสว่าง

การแก้ไขปัญหา Creative Problem Solving : CPS คือ กระบวนการคิดรูปแบบใหม่ๆที่จะทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไปถึงเป้าหมายที่ต้องการด้วยวิธีการหรือเทคนิคต่างๆที่สร้างสรรค์ต่างจากเดิม ซึ่งการคิดสร้างสรรค์เพื่อการแก้ไขปัญหานั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ และนวัตกรรมในองค์กรได้

 

หลายคนมักจะมีคำพูด หรือข้อความที่ป้องกันตนเอง หรือเงื่อนไข หรือข้ออ้าง ที่ทำให้ไม่ต้องคิดแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ใหม่ๆ  ซึ่งเป็นอุปสรรคของการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เช่น

 

•       ไม่มีเวลา! แค่ทำงานที่อยู่ตรงหน้าก็ยุ่งมากพอแล้ว  คำนี้เจอบ่อยค่ะ

•       ใช้ทรัพยากรมากเกินไป  ใช้เงินมากเกินไป ต้องใช้คนเยอะ ต้องเปลี่ยนระบบ ต้อง......

•       ฉัน/ผมไม่ใช่คนประเภทสร้างสรรค์  ฉันทำไม่ได้”

•       ในวัฒนธรรมนี้ ในองค์กรนี้ คิดวิธีการใหม่ๆหรือสร้างสรรค์ไม่ได้หรอก

•       เราไม่ได้อยู่แผนกวิจัยพัฒนา แผนกสร้างสรรค์ แผนกนวัตกรรมจะสร้างสรรค์ได้ยังไง

•       ฉันไม่อยากดูโง่

•       เราเคยลองใช้มาก่อนมันไม่เวิร์ค

•       หน้าที่คิดอะไรใหม่ๆ เป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูง CEO เจ้าของบริษัท

•       เสนออะไรไปก็ไม่ได้รับการอนุมัติหรอก

•       มันยากเกินไป

 

สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคที่ทำให้ไม่เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ แล้วคนทำงานกลับไปใช้วิธีการเดิมๆที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ถึงรากถึงโคน เรามีคำพูดอะไรบ้างไหมคะ ที่ทำให้เราหยุดการคิดสิ่งใหม่ๆ หรือคิดสร้างสรรค์ค่ะ

 

ถ้าเราอยากจะเปลี่ยนแปลงให้เป็นคนคิดแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ได้  อ.เก๋มีแนวทางมาแนะนำดังนี้

•   เปลี่ยนจาก“ ใช่ แต่ หรือ Yes…But ” เป็น“ ใช่และ Yes…and… ซึ่งเป็นเทคนิคหนึ่งในการระดมสมอง เพื่อให้ได้ไอเดียใหม่ๆ เราจะต่อยอดความคิดเพื่อนร่วมงาน แล้วหาวิธีการใหม่ๆด้วย Yes and ใช่ แล้วต่อต้อง ไม่สกัดความคิดคนอื่น ด้วย Yes but . ใช่ ก็ดีนะ เช่น  แต่ หัวหน้าไม่อนุมัติหรอ ไม่มีงบประมาณหรอก

•   มีความอยากรู้อยากเห็น (ต่างจากสอดรู้สอดเห็นนะคะ)  โดยใช้คำถามที่ว่า What If “ จะเกิดอะไรขึ้น….ถ้า ....?”

•   เปิดกว้างต่อความคิดใหม่ ๆ ที่เข้ามา ไม่ยึดติดความคิดของเราหรือความสำเร็จของตัวเองในอดีต เพราะปัจจุบัน เทคโนโลยี ความต้องการของลูกค้า และการแข่งขันสูงมาก

•   บ่มเพาะและปล่อยให้สมองทำงานนอกกรอบความคิดเดิมๆ คิดต่างๆ สม่ำเสมอ รวมถึงการติดตามเทคโนโลยี ความรู้ใหม่ๆ

•    ฝึกฝน และใช้เครื่องมือ / วิธีการ /เทคนิค การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งจะมีเนื้อหาในบทเรียนต่อๆไปค่ะ

 

สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ท่านเปลี่ยนเป็นคนที่สามารถคิดแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ได้ค่ะ

 

เวลาจัดสัมมนา อ.เก๋จะกระตุ้นให้ผู้เข้าสัมมนาก้าวข้ามความกลัว และสร้าง Growth Mindset ก่อนว่า ทุกคนสามารถคิดสร้างสรรค์ได้ จากให้ค่อยๆให้เครื่องมือ / วิธีการ /และเทคนิคต่างๆในการคิดสร้างสรรค์ เพื่อเอาไปใช้ต่อยอด คิดไอเดียใหม่ๆต่อไปค่ะ ได้คิดไอเดียออกมาให้มากที่สุดก่อน จากนั้นจึงค่อยๆคัดกรองไอเดียดีๆ ที่มีความเป็นไปได้ มีความคิดสร้างสรรค์และตอบโจทย์องค์กรให้ไปต่อยอดได้ต่อไปค่ะ


  


อ่านบทความอื่นๆเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ Creative Problem solving ได้ที่

กระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ Creative Problem Solving กดที่นี่

การคิดแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วย Divergent Thinking และ Convergent Thinking กดที่นี่

 

 

อ.เก๋หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับผู้ที่สนใจการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (Creative Problem Solving : CPS)  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานนะคะ

.........................

- สนใจหลักสูตร " Creative to Innovation การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร "  Design Thinking for Innovation Developmentวิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร  ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่ 

......................

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

เข้าใจความหมาย และองค์ประกอบของนวัตกรรม ด้วย VIN model for Innovation อ่านต่อที่นี่  หรือกดที่รูป VIN model ด้านล่างนี้ 

 

 

                                      


อ.ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
วิทยากร ที่ปรึกษา โค้ช ด้านการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994 

 

หรือส่งรายละเอียดเพื่อติดต่อกลับทาง แบบฟอร์มติดต่อกลับด้านล่างค่ะ 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 360,674