การคิดวิเคราะห์ปัญหาด้วย Root Cause analysis โดยศศิมา สุขสว่าง
การคิดวิเคราะห์ปัญหาด้วย Root Cause analysis หรือเรียกย่อๆว่า RCA หรือบางครั้งก็เรียกว่า แผนภูมิก้างปลา เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับก้างปลา เทคนิคนี้ ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาได้เป็นอย่างดี และสามารถใช้ร่วมกับเทคนิคอื่นๆ เช่น WHY WHY analysis หรือ 5 WHY เพื่อให้ลงลึกถึงปัญหาได้มากที่สุด
เครื่องมือนี้ใช้ในการระบุ แจกแจง แยกแยะ สาเหตุของปัญหาที่เป็นไปได้ทั้งหมดของปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว หรือ อาจจะกำลังจะเกิดขึ้น เป็นเทคนิคที่อ.เก๋ มักจะแนะนำว่า ควรจะระดมสมองเป็นกลุ่มๆ ไม่ต้องกลุ่มใหญ่มาก สัก 4-6 คน จะทำให้ได้ไอเดีย และมองเห็นปัญหาได้รอบด้าน และหลากหลายมุมมากกว่า การคิดคนเดียวค่ะ
ประโยชน์ของเทคนิคการคิดวิเคราะห์ด้วย Root –Cause Analysis มีดังนี้
1. ช่วยให้สามารถมองเห็นปัญหาได้ทุกมุมมอง และหลายหลายก่อนทำหาวิธีการแก้ไขและตัดสินใจ (หากระดมสมองเป็นกลุ่มจะยิ่งได้ข้อมูลรอบด้านมากขึ้น)
2. แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุ และความสำคัญที่เกี่ยวข้องของสาเหตุเหล่านั้น
3. ช่วยเริ่มต้นการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เพราะทำให้ผู้แก้ปัญหาเน้นไปที่ปัญหาก่อน
4. ช่วยให้การคิดแก้ไขปัญหาได้เป็นระบบมากขึ้น เนื่องจากเห็นปัญหาชัดเจน
วิธีการเขียน Root –Cause Analysis
1.เขียนปัญหาลงไป แล้วก็วาดสามเหลี่ยม หรือ (วงกลมหรือสี่เหลี่ยมก็ได้) ล้อมรอบปัญหานั้นบนด้านขวาของกระดาษ
2. ขีดเส้นตรงไปทางซ้าย เรียกว่า “เส้นกระดูกสันหลัง"หรือ "เส้นแกนหลัก"
3. ขั้นถัดมาก็จะลากเส้นก้างปลาทำมุมประมาณ 45 องศากับเส้นกระดูกสันหลัง
4. ระดมสมองเพื่อหาค้นหา แยะแยะ แจกแจงสาเหตุของปัญหาทั้งหมด และเขียนไปที่เส้นก้างปลา
5. บนเส้นก้างปลาแต่ละก้างสามารถถูกแยกย่อยได้อีก เพื่อวิเคราะห์แต่ละสาเหตุเพิ่มเติม
6. เขียนสาเหตุที่ซับซ้อนมากกว่าที่หางของปลา ไล่มาถึงซับซ้อนน้อยทางหัวของปลา
แผนผัง Root –Cause Analysis นี้ สามารถกำหนด เส้นสาเหตุหลัก ได้อิสระ หรือจะใช้ร่วมกับโมเดลอื่นๆ ตัวอย่าง เช่น
- กำหนดให้แต่ละก้างของสาเหตุหลัก เป็น 4 M - Material , Man , Money, Method
- กำหนดให้แต่ละก้างของสาเหตุ เป็น 7s McKinsey - Strategy,Style,Structure,Staff,Systems, Skills,Shared Values
- กำหนดให้แต่ละก้างของสาเหตุ เป็น 4 P - Price, Place, Promotion, Product
เพื่อจะได้มีทิศทางในการระดมสมอง เป็นอีกไอเดียหนึ่ง เวลาที่ระดมสมองเพื่อหาสาเหตุของปัญหาค่ะ
อ.ศศิมา - เก๋ หวังว่า บทความนี้จะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องวิเคราะห์ปัญหา ในการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์นะคะ เป็นกำลังใจให้ทุกท่านค่ะ
......................................
- สนใจหลักสูตร " Design Thinking for Innovation Development" วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่
- สนใจหลักสูตร " Analytical Thinking ทักษะการคิดวิเคราะห์ " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่
- สนใจหลักสูตร " Critical thinking ทักษะการคิดวิพากษ์ " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่
- สนใจหลักสูตร " Creative thinking to Innovation ทักษะการคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่
- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่
......................................
Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator) และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)
.................................
ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่
ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com
line ID : sasimasuk.com
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994
-
การคิด (Thinking skill) เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลแก้ปัญหาตัดสินใจและสร้างแนวคิดใหม่ ๆ เรามักจะใช้ทักษะการคิดเมื่อพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์ การจัดระเบียบข้อมู...
-
การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)หมายถึง ความสามารถในการคิดจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆ ของข้อมูลหรือปัญหาต่างๆออกเป็นประเด็นย่อยๆ ในหลายๆแง่มุม รวมทั้งการหาความสัมพันธ์ระหว่...
-
Design Thinkingเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรมได้เป็นอย่างดี โดยเน้นเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานหรือกลุ่มเป้าหมายเป็นจุดศูนย์กลาง (Human Centered) Design Thinkingเป็นกระบ...
-
การคิดเชิงระบบ ( Systems Thinking ) เป็นการคิดในภาพรวมที่เป็นระบบ และมีส่วนประกอบที่สัมพันธ์เชื่อมโยงจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ เป็นการคิดอย่างมีเหตุมีผล เน้นการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดเพ...
-
เราอาจจะสงสัยว่า ทำไมบางคนเก่งเลข บางคนเก่งเรื่องของศิลปะ บางคนเก่งเรื่องทำอาหาร บางคนเก่งเรื่องกีฬา แตกต่างกันไป ปัจจัยอย่างหนึ่งที่สำคัญเรื่องนี้คือ การทำงานของสมองในแต่ด้านของคน...
-
การตัดสินใจ คือการเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดจากทางเลือกหลายๆทางเลือก เพื่อให้องค์กรได้ประโยชน์สูงสุด และไม่มีความเสียหายผิดพลาดหรือมีน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การตัดสินใจนั้นเป็น...
-
Why-why diagram เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการคิดวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของปัญหา ร่วมกับ Root Cause analysis ค่ะบทความนี้เขียนโดยอ. ศศิมา สุขสว่าง www.sasimasuk.com เทคนิคนี้ มั...
-
เก๋ดูหนังเรื่อง 21 เกมเดิมพันอัจฉริยะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเบน แคมป์เบล เป็นนักศึกษา M.I.T. ขี้อายแต่ฉลาด กำลังหาทุนเรียนแพทย์ แล้วได้ไปเข้ากลุ่มกับศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสถิติของ...
-
เก๋ได้ไปอ่านบทความหนึ่งที่น่าสนใจที่เขียนโดยคุณ RICHARD SELLERS เกี่ยวกับกลยุทธ์ป้องกันการแข่งขันที่ใช้ในเวลาที่เรามีคู่แข่งทางการตลาดขึ้นมาแบบ ทำสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ แบบเดียวกัน ห...
-
บทความนี้ อ.เก๋มาแบ่งปันเรื่อง การคิดวิพากษ์ (Critical thinking) ซึ่งเป็นทักษะการคิดหนึ่งใน 4 C คือ Communication, Collaboration, Creativity และ Critical Thinking ที่จำเป็นสำหรับค...
-
ในการทำงานในอนาคต คนทำงานต้องมีทักษะใหม่ๆ ซึ่งทักษะสำหรับการทำงานที่สำคัญคือ "การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)"หรือ “การคิดอย่างมีเหตุผลรอบด้าน” หรือภาษาไทย หลายท่านอาจจะใช้...