กลยุทธ์การป้องกันการแข่งขัน (Strategies to Defend Against New Competitor) โดย ศศิมา สุขสว่าง
เก๋ได้ไปอ่านบทความหนึ่งที่น่าสนใจที่เขียนโดยคุณ RICHARD SELLERS เกี่ยวกับกลยุทธ์ป้องกันการแข่งขันที่ใช้ในเวลาที่เรามีคู่แข่งทางการตลาดขึ้นมาแบบ ทำสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ แบบเดียวกัน หรือแย่งลูกค้าเราต้องทำอย่างไรบ้าง
.
ทีนี้เก๋เรียบเรียงบทความนี้ขึ้นมา เพื่อให้ทั้งคนที่อยู่ในตลาดเดิม รวมทั้งรายใหม่ที่กำลังจะเข้ามาในตลาดอ่าน จะได้รู้บริบททั้งหมด เก๋มองว่าในทุกอุตสาหกรรม ทุกสินค้าและบริการ ควรมีการแข่งขัน เพื่อที่จะได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสินค้าอย่างต่อเนื่อง หากมีใครเป็นเจ้าตลาดอยู่เพียงไม่กี่เจ้า ผลเสียก็จะตกอยู่ที่ลูกค้าหรือผู้บริโภคนะคะ ดังนั้นอ่านแล้วก็ลองเอาไปปรับดูนะคะว่าเราจะใช้ยังไงในบริบทของบริษัทเราค่ะ
กลยุทธ์การป้องกันการแข่งขัน (Strategies to Defend Against New Competitor) และถ้าเราจะไปแข่งขัน ต้องรู้อะไรบ้าง
1. ไม่สนใจ (Ignore)
บ่อยครั้งวิธีที่ดีที่สุดคือการเพิกเฉยต่อคู่แข่งรายใหม่ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะไม่เป็นอันตรายหรือกำหนดเป้าหมายโดยตรงกับธุรกิจของคุณอย่างที่คุณคิดในตอนแรก
ข้อดีสามประการของกลยุทธ์ "ไม่ลงมือทำ" คือ:
- ป้องกันการเสียเงินโดยใช่เหตุ หากมีการไม่ดำเนินการสิ่งที่ไม่มีประสิทธิภาพ
- ประหยัดทรัพยากรที่จะใช้
- ขจัดความเสี่ยงในการทำบางสิ่งที่จะย้อนกลับมาและเป็นอันตรายต่อธุรกิจของคุณ
แต่การไม่สนใจนี้ ในอนาคตอาจจะทำให้คู่แข่งแข็งแกร่งและเติบโตขึ้นได้ ก็ต้องดูบริบทของสินค้าและบริการนั้นๆด้วยนะคะว่ามีความสำคัญต่อธุรกิจของเราหรือเปล่า เพราะบางครั้งการมีคู่แข่ง ก็ทำให้ผลิตภัณฑ์และบริการของเราดูดีขึ้นได้ค่ะ
2. ทำแบรนด์ของคุณให้แข็งแกร่ง (Strengthen Brand)
กลยุทธ์ที่ดีและควรนำมาปฏิบัติอย่างจริงจังคือ ทำแบรนด์ของเราให้แข็งแกร่ง ทำสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้ดีมีคุณค่าตอบโจทย์ลูกค้ามากที่สุด และปรับปรุงสิ่งที่ทำให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จ เช่น
- สื่อสารข้อความของคุณบ่อยขึ้น / สื่อสารกับผู้คนจำนวนมากขึ้น
- ดำเนินการส่งเสริมการขายที่พิสูจน์แล้วว่าใช้ได้ดีประสบความสำเร็จ
- เสริมสร้างประสบการณ์ในจุด Touch Point ของผู้บริโภคให้น่าจดจำในทางบวกมากขึ้น
- ขจัดความ Pain Point ของลูกค้า และ
- ฝึกให้ทุกคนรับฟังและตอบกลับกับลูกค้าในเชิงบวกและให้ความสำคัญ
เป็นต้น
3. ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่คุณมีมาตั้งแต่ต้น (Leverage the benefits of being established)
การที่ธุรกิจของคุณสามารถดำเนินการมาได้จนถึงปัจจุบัน แสดงว่า ต้องมีจุดแข็งหลายอย่างที่คู่แข่งหน้าใหม่ๆอาจจะไม่สามารถแข่งขันได้ เช่น
- ลูกค้า ถ้าใครยังไม่เคยเก็บข้อมูลลูกค้าเลย ต้องรีบ เพราะเดี๋ยวนี้ใครมีข้อมูลลูกค้า มีชัยไปกว่าครึ่งแล้วค่ะ
- ฐานข้อมูล
- ระบบต่างๆ
- พนักงานที่มีคุณค่า
- ซัพพลายเออร์ (ในฐานะหุ้นส่วนที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน)
- พนักงานที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าของคุณและ
- สิ่งที่สำคัญที่สุด: ประสบการณ์ในอดีตที่สอนคุณว่าอะไรได้ผลและอะไรไม่ได้ผล ไม่ต้องมาลองผิดลองถูกในเรื่องเดิมๆ และสามารถเริ่มทำในสิ่งใหม่ๆก้าวไปข้างหน้าได้
4. การยกระดับสินค้าหรือบริการ (Up Grade)
การเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าหรือบริการนั้น สามารถยกระดับ และพัฒนาปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยมากขึ้น เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้มาก เช่น
- การยกระดับสิ่งอำนวยความสะดวก
- การปรับปรุงผลิตภัณฑ์
- การเพิ่มบริการและ
- การขยายการตลาดและการบริการลูกค้า (เช่น Social media และการปรับปรุงเว็บ)
- การเพิ่มหรือขยายเวลา ต่อเวลาเพิ่มขึ้น
- พนักงานมากขึ้น
- พนักงานมีคุณภาพดีกว่า
- การฝึกอบรมที่ดีขึ้น
- การจองล่วงหน้า
ฯลฯ
5. การทุ่มเงิน :
บริษัทใหญ่ๆหลายบริษัทที่มีเงินถุง เงินถังที่สายป่านยาว ก็ยอมจ่ายเงิน ทุ่มเงินเยอะเพื่อป้องกันคู่แข่งรายใหม่ เพื่อไม่ให้มาเป็นคู่แข่งที่เติบโต ทำงานบ้าง เช่น
1) ออกโปรแกรมส่งเสริมการขาย (Promotion) เช่น
- คูปองต่างๆ
- บัตรสมาชิก, สะสมแต้มหรือคะแนน
- การสาธิต, การให้ลองใช้บริการ
- สินค้า / บริการพิเศษ เช่น ซื้อ 1 แถม 1 , ซื้อครบ.... บาท แลกซื้อสินค้ามูลค่า....บาทหรือแถมอันโน่นนี่, รับเงินคืน, มีของสัมมนาคุณ , ตั๋วท่องเที่ยว, ชิงโชคใหญ่ เป็นต้น
2) ทำราคาต่ำกว่า (Under Price)
การลดราคาผลิตภัณฑ์ / บริการที่มีการแข่งขันโดยตรง ซึ่งบางบริษัทก็ไปลด แล้วไปเพิ่มราคาสินค้าอีก SKU อื่น เพื่อรักษาส่วนต่างที่เสียไป อันนี้เรียกว่า สงครามราคา ไม่ว่าแบรนด์ไหนทำก็มีแนวโน้มที่จะเกิดความเสียหายไปกันหมดค่ะ
ในโลกนี้ยังมี กลยุทธ์การป้องกันการแข่งขัน (Strategies to Defend Against New Competitor) อีกมากมายนอกเหนือจากบทความนี้นะคะ ลองศึกษากันไปเรื่อยๆ แม้จะยังไม่ได้ใช้นะคะ เมื่อวันหนึ่งเมื่อเราต้องใช้ มันจะผุดขึ้นมาในสมองเรา เป็น Connection the dot นะคะ
หลายๆเรื่องน่าสนใจนะคะ เก๋อ่านแล้วก็เอามาใช้กับธุรกิจฝึกอบรมของตัวเองเหมือนกัน สิ่งที่เก๋ทำส่วนใหญ่ คือเก๋จะพัฒนาและปรับปรุงสินค้าและบริการในการฝึกอบรมของเก๋ให้ดีขึ้นเรื่อยๆเพื่อให้ตอบโจทย์ และช่วยให้ลูกค้าได้สิ่งที่หวังผลลัพธ์มากที่สุดค่ะ ไม่ค่อยได้ทำแบรนด์เพราะอยากมีความสุข หรือ ไปสู้เรื่องราคา กับใคร
เก๋ เป็นกำลังใจให้กับทุกท่านในการพัฒนานวัตกรรม และหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับทุกท่านนะคะ ขอบคุณที่ทุกท่านที่เข้ามาอ่านบทความนี้นะคะ มีความสุข มากๆค่ะ
อ้างอิง : https://www.shellypalmer.com/
....................................
- สนใจหลักสูตร " Design Thinking for Innovation Development" วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่
- สนใจหลักสูตร " Analytical Thinking ทักษะการคิดวิเคราะห์ " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่
- สนใจหลักสูตร " Critical thinking ทักษะการคิดวิพากษ์ " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่
- สนใจหลักสูตร " Creative thinking to Innovation ทักษะการคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่
- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่
......................................
Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator) และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)
.................................
ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่
ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com
line ID : sasimasuk.com
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994
-
การคิด (Thinking skill) เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลแก้ปัญหาตัดสินใจและสร้างแนวคิดใหม่ ๆ เรามักจะใช้ทักษะการคิดเมื่อพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์ การจัดระเบียบข้อมู...
-
การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)หมายถึง ความสามารถในการคิดจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆ ของข้อมูลหรือปัญหาต่างๆออกเป็นประเด็นย่อยๆ ในหลายๆแง่มุม รวมทั้งการหาความสัมพันธ์ระหว่...
-
Design Thinkingเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรมได้เป็นอย่างดี โดยเน้นเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานหรือกลุ่มเป้าหมายเป็นจุดศูนย์กลาง (Human Centered) Design Thinkingเป็นกระบ...
-
การคิดเชิงระบบ ( Systems Thinking ) เป็นการคิดในภาพรวมที่เป็นระบบ และมีส่วนประกอบที่สัมพันธ์เชื่อมโยงจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ เป็นการคิดอย่างมีเหตุมีผล เน้นการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดเพ...
-
เราอาจจะสงสัยว่า ทำไมบางคนเก่งเลข บางคนเก่งเรื่องของศิลปะ บางคนเก่งเรื่องทำอาหาร บางคนเก่งเรื่องกีฬา แตกต่างกันไป ปัจจัยอย่างหนึ่งที่สำคัญเรื่องนี้คือ การทำงานของสมองในแต่ด้านของคน...
-
การตัดสินใจ คือการเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดจากทางเลือกหลายๆทางเลือก เพื่อให้องค์กรได้ประโยชน์สูงสุด และไม่มีความเสียหายผิดพลาดหรือมีน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การตัดสินใจนั้นเป็น...
-
การคิดวิเคราะห์ปัญหาด้วย Root Cause analysisหรือเรียกย่อๆว่า RCA หรือบางครั้งก็เรียกว่า แผนภูมิก้างปลา เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับก้างปลา เทคนิคนี้ ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาได้เป็นอย่าง...
-
Why-why diagram เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการคิดวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของปัญหา ร่วมกับ Root Cause analysis ค่ะบทความนี้เขียนโดยอ. ศศิมา สุขสว่าง www.sasimasuk.com เทคนิคนี้ มั...
-
เก๋ดูหนังเรื่อง 21 เกมเดิมพันอัจฉริยะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเบน แคมป์เบล เป็นนักศึกษา M.I.T. ขี้อายแต่ฉลาด กำลังหาทุนเรียนแพทย์ แล้วได้ไปเข้ากลุ่มกับศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสถิติของ...
-
บทความนี้ อ.เก๋มาแบ่งปันเรื่อง การคิดวิพากษ์ (Critical thinking) ซึ่งเป็นทักษะการคิดหนึ่งใน 4 C คือ Communication, Collaboration, Creativity และ Critical Thinking ที่จำเป็นสำหรับค...
-
ในการทำงานในอนาคต คนทำงานต้องมีทักษะใหม่ๆ ซึ่งทักษะสำหรับการทำงานที่สำคัญคือ "การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)"หรือ “การคิดอย่างมีเหตุผลรอบด้าน” หรือภาษาไทย หลายท่านอาจจะใช้...
-
ตอนที่เก๋ทำงานประจำ(เก๋ทำงานเป็นพนักงานเงินเดือนมา 4 บริษัท ก่อนจะออกมาตั้งบริษัทของตัวเอง)แล้วได้โปรโมทเป็นหัวหน้าทีม จากนั้นก็เริ่มมีลูกน้องเข้าทีมจากคนสองคน จนเป็นหลายสิบคนนั้น...
-
สวัสดีเพื่อนๆ ทุกคนค่ะ อาจารย์เก๋เองก็เป็นคนที่สนใจ ทำงาน และสัมมนาเรื่องความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรมมาตลอด 20 กว่าปีที่ทำงานในสายนี้ แต่ต้องยอมรับว่าช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีการเป...
-
สวัสดีค่ะทุกคน บทความนี้อาจารย์เก๋ -ศศิมา สุขสว่าง มาแลกเปลี่ยนแบ่งปันทักษะที่สำคัญอีกทักษะหนึ่งที่ช่วยให้เราทำงานและตัดสินใจได้ดีขึ้น นั่นก็คือ "Critical Thinking" หรือการคิดเชิ...