TRIZ 40 เทคนิคคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม โดย ศศิมา สุขสว่าง-อ.เก๋

TRIZ เป็นทฤษฎีการแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรม คิดค้นขึ้นโดยนักประดิษฐ์ชาวรัสเซีย เกนริค อัลทชูลเลอร์ (Genrikh Altshuller) และทีม TRIZ มาจากคำว่า Teoriya Resheniya Izobretatelskikh Zadach แปลว่า ทฤษฎีการแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรม ที่ได้สรุปออกมาว่า นวัตกรรมต่างๆนั้น มีหลักการทั้งสิ้น 40 หลักการ ซึ่งจะวิเคราะห์แนวทางออกเป็นระบบย่อยๆ และระบบย่อยนี้ก็ยังเป็นสามารถนำมารวมกัน หรือสร้างรูปแบบเป็นระบบที่ใหญ่กว่าขึ้นไปอีกจนได้นวัตกรรมใหม่ๆได้อีก

 

 

วิธีการ :
1. การวิเคราะห์ปัญหา และรูปแบบหรือแบบแผนของปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำๆ
2. การกำหนดผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการ ( Ideal Final Result : IFR)
3. ใช้วิธีการของ TRIZ ที่สามารถเเก้ไขปัญหานั้นได้ โดยการเปลี่ยนแปลงหรือจัดรูปแบบปัญหาใหม่ ปรับปรุงส่วนปลีกย่อยของระบบเดิม หรือปรับปรุงโครงสร้างหลัก หรือสร้างผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ๆออกมาเลย
4.การวิเคราะห์วิธีการที่ขจัดความขัดแย้งทางกายภาพหรือทางเทคนิคได้ แล้วใช้วิธีแก้ปัญหาที่พบ และวิเคราะห์ขั้นตอนที่นำไปสู่การแก้ปัญหา

 

 

หลักการ 40 ประการของ TRIZ

1.การแบ่งออกเป็นส่วนๆ (segmentation)
2. การสกัดออก (extraction)
3.คุณลักษณะเฉพาะประจำตัว (local quality)
4.ความไม่สมมาตร (asymmetry)
5.การรวมเข้าด้วยกัน (Merging)
6.การใช้งานอเนกประสงค์ (universality)
7.การซ้อนทับกัน (Nested doll)
8.คานน้ำหนัก หรือต่อต้านน้ำหนัก (counterweight – Anti-Weight)
9.กระทําการต้านทานก่อน(prior counter-action)
10.การกระทําก่อน(prior action)
11.ป้องกันไว้ก่อน (cushion in advance)
12.ศักยภาพเท่ากัน (equipotentiality)
13.ทํากลับทิศทาง (do it in reverse)
14.ส่วนโค้งทรงกลม (spheroidality)
15.เป็นพลวัต (dynamicity)
16.ทําบางส่วนหรือทำเกิน (partial or excessive action)
17.เปลี่ยนแปลงสู่มิติใหม่ (transition into a new dimension)
18.การสั่นเชิงกล (mechanical vibration)
19.กระทําเป็นจังหวะ (periodic action)
20.กระทําต่อเนื่องที่เป็นประโยชน์ (continuity of useful action)
21. เร่งรัด (rushing through)
22. เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส (convert harm into benefit)
23. การป้อนกลับ (feedback)
24. ตัวประสาน - ตัวกลาง (mediator)
25. การบริการตัวเอง (self service)
26. การเลียนแบบ (copying)
27. การใช้แล้วทิ้ง (dispose)
28. การแทนระบบเชิงกลด้วยระบบอื่น (replacement of mechanical system)
29. ใช้ระบบนิวเมติคหรือไฮดรอลิค (pneumatic or hydraulic construction)
30. เยื่อยืดหยุ่นหรือฟิลม์บาง (flexible membranes or thin films)
31. วัสดุที่มีรูพรุน (porous material)
32. การเปลี่ยนสี (changing of colour)
33. เนื้อเดียว (homogeneity)
34. การใช้ชิ้นส่วนที่สลายและเกิดใหม่ (rejecting and regenerating part)
35. การเปลี่ยนลักษณะสมบัติ (transformation of the properties)
36. การแปลงสถานะ (phase transition)
37. การขยายตัวด้วยความร้อน (thermal expansion)
38. การเติมอากาศอย่างรวดเร็ว (accelerated oxidation)
39. สภาพแวดล้อมเฉื่อย (inert environment)
40. วัสดุผสม (composite materials)

 

บทความเพิ่มเติม  "แนวทางการนำหลักการของ TRIZ ไปใช้ในกระบวนการทำงานเบื้องต้น" อ่านบทความ กดที่นี่

 

เก๋หวังว่า บทความนี้จะช่วยมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจวิธีการ แนวคิดในการนำความรู้ไปพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ พัฒนานวัตกรรม ตลอดจนการพัฒนาตัวเอง ทีมงาน และประสิทธิภาพการทำงานให้กับองค์กรนะคะ

 ..........................

- สนใจหลักสูตร " Creative to Innovation การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร "  Design Thinking for Innovation Developmentวิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร "การแก้ไขปัญหาและพัฒนานวัตกรรมด้วย TRIZ 40 และ Creative toolsวิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร  ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่  

 ..................................

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

เข้าใจความหมาย และองค์ประกอบของนวัตกรรม ด้วย VIN model for Innovation อ่านต่อที่นี่  หรือกดที่รูป VIN model ด้านล่างนี้ 

 

 .......................

Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม  โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ตลอดจนการสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา)  ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator)  และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม  โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

.................................

ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี  ทำงานด้าน  Research & Development Engineer  และนักวิจัยมาโดยตลอด จนได้มาเป็นผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ของ THTI กว่า 15  ปี และได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน 

...........................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ sasimasuk.com

Visitors: 355,756