การคิดเชิงระบบ (System thinking) จาก The Fifth Discipline โดยอ.ศศิมา สุขสว่าง

การคิดเชิงระบบ ( Systems Thinking ) เป็นการคิดในภาพรวมที่เป็นระบบ และมีส่วนประกอบที่สัมพันธ์เชื่อมโยงจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ เป็นการคิดอย่างมีเหตุมีผล เน้นการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดเพื่อให้เกิดความถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็วในองค์รวม

  

การพัฒนาบุคคลากรให้มีระบบการคิดเชิงระบบ จะช่วยให้องค์กรมีประสิทธิภาพ การทำงานต่างๆในภาพใหญ่ขององค์กรสอดคล้อง สัมพันธ์กันด้วยระบบที่มีส่วนประกอบต่างๆ ที่เชื่อมสัมพันธ์กันรวมเป็นหนึ่ง เดียวกัน 

 

การคิดเชิงระบบจะไม่มองเฉพาะหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งแต่จะมองภาพใหญ่ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นปัญหาระดับองค์กร แล้วแก้ปัญหาทั้งในภาพใหญ่และภาพย่อย เชื่อมโยง สร้างสรรค์และทำงานเป็นทีมอย่างเป็นระบบ แล้วสามารถพัฒนาต่อเป็น“องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)” แล้วต่อยอดเป็นองค์กรนวัตกรรม (Innovation Organization)  ได้  โดยการจะสร้างองค์กรนวัตกรรม (Innovation Organization) นั้น จุดเริ่มต้นเริ่มจากตัวบุคคล ทีมงาน และองค์กร ดังนั้นการส่งเสริมให้บุคคลากรในองค์มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในความคิดเชิงระบบ ความสามารถที่เป็นเลิศส่วนบุคคล การทำงานเป็นทีม และการมองเห็นภาพวิสัยทัศน์ร่วมกันทั้งองค์กร จึงเป็นสิ่งสำคัญ ผู้นำสามารถเริ่มต้นได้จากการส่งเสริมให้องค์กรเป็น ค่ะ

 

Peter Senge ศาสตราจารย์ของสถาบัน MIT และผู้เขียนหนังสือ “The Fifth Discipline : The Art And Practice Of The Learning Organization” หรือ "ศิลปะและแนวทางปฏิบัติขององค์กรแห่งการเรียนรู้"  ซึ่งได้ให้ความหมายของ “องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)” ไว้ว่า เป็นองค์กรที่ซึ่งคนในองค์กรสามารถขยายขอบเขตความสามารถของเขาเพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการอย่างแท้จริงได้ เป็นที่ซึ่งส่งเสริมให้เกิดและขยายแนวความคิดใหม่ๆ ออกไป สามารถแสดงออกทางความคิดได้อย่างอิสระ และเป็นที่ซึ่งผู้คนเรียนรู้ที่จะเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

 

Peter Senge เชื่อว่า หัวใจของการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้อยู่ที่การเสริมสร้างวินัย 5 ประการ ให้เกิดผลลัพธ์ที่เห็นได้จริง หากนำไปปฏิบัติในระดับบุคคล (Personal) ทีม (Team) และองค์กรอย่างต่อเนื่องและทุกระดับ โดย วินัยทั้ง 5 ประการ ได้แก่

1. Systems Thinking การคิดเชิงระบบ

2. Personal Mastery ความเป็นเลิศส่วนบุคคล

3. Mental Models รูปแบบความคิด (จิตใจ)

4. Shared Vision วิสัยทัศน์ร่วม

5. Team Learning การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม 

ด้วยการสนทนาสุนทรียสนทนา หรือ ไดอะล็อก (Dialogue) และแนวทางปฏิบัติต่างๆเพื่อเสริมสร้างวินัยทั้ง 5 ประการ 

 

เก๋มีหนังสือชุด วินัย 5 ประการ สำหรับองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)  ฉบับนิทาน แต่งโดย David Hutchens และแปลโดย ดร.มนต์ชัย พินิจจิตรสมุทร และ กุลชรี ตัณศุภผล ที่นำแนวทางของ “The Fifth Discipline : The Art And Practice Of The Learning Organization” หรือ "ศิลปะและแนวทางปฏิบัติขององค์กรแห่งการเรียนรู้" ของ Peter Senge มาย่อย และแต่งเป็นนิทาน พร้อมภาพประกอบในรูปแบบของตัวการ์ตูน ที่อ่านง่ายผ่านตัวละครน่ารักต่างๆ เช่น นกเพนกวิน มนุษย์ยุคหิน หมาป่า แกะ หนูเลมมิงจ์ เป็นต้น และสรุปนะนำวินัยต่างๆ ที่จำเป็นต่อการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้   โดยเรื่องเล่า (Storytelling) ที่เข้าใจง่าย แต่ละเล่มจะอธิบายวินัยในแต่ละเรื่อง ในหนังสือแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

 

 - ส่วนที่ 1  ของหนังสือจะนำเสนอในรูปแบบการเล่าเรื่อง นิทานอารมณ์ขัน ภาพประกอบน่ารัก และอุปมาอุปไมย ที่อ่านได้สนุกทั้งเด็กและผู้ใหญ่  

 - ส่วนที่ 2 เป็นการถอดบทเรียนเรื่องราวในนิทานอย่างลึกซึ้ง อธิบายหลักการและแนวคิดของแต่ละวินัย รวมถึงคำแนะนำในการเริ่มฝึกฝนและไตร่ตรอง เพื่อความเข้าใจในวินัยต่างๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

 

 โดยใน นังสือนิทานชุด วินัย 5 ประการ สำหรับองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) 5 เล่มนี้ ประกอบด้วย

เล่มที่ 1 เรื่อง The Tip of the Iceberg ยอดของภูเขาน้ำแข็ง : การจัดการพลังซ่อนเร้นซึ่งอาจสร้างหรือทำลายองค์กรของคุณ

เล่มที่ 2 เรื่อง The Lemming Dilemma : สภาวะลำบากของหนูเลมมิงจ์ ใช้ชีวิตอย่างมีจุดประสงค์ นำอย่างมีวิสัยทัศน์ 

เล่มที่ 3 เรื่อง Shadows of the Neanderthal : เงาแห่งยุคหิน การให้ความกระจ่างแก่ความเชื่อ ที่จำกัดองค์กรของเรา 

เล่มที่ 4  เรื่อง  Out learning the Wolves : ฉลาดเกินหน้าหมาป่า การอยู่รอดและเติบโต ในองค์กรแห่งการเรียนรู้ 

เล่มที่ 5  เรื่อง Listening to the Volcano : สดับเสียงภูเขาไฟ การสนทนาที่เปิดใจ รับความเป็นไปได้ใหม่ๆ

 

แต่ละเล่มมีรายละเอียด ดังนี้

 

เล่มที่ 1 เรื่อง The Tip of the Iceberg ยอดของภูเขาน้ำแข็ง : การจัดการพลังซ่อนเร้นซึ่งอาจสร้างหรือทำลายองค์กรของคุณ

เป็นหนังสือนิทานที่อธิบายเรื่องของ วินัยเรื่อง "การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)"   ช่วยให้เข้าใจและวิเคราะห์ความเกี่ยวกันของเหตุและผล อย่างมีประสิทธิผล จากแนวคิดที่ซับซ้อนที่ต้องการแก้ปัญหาในระยะยาว ต้องเปลี่ยนจากการคิดแบบเชิงเส้นไปสู่การคิดเชิงระบบ และค้นหาวิธีลงมือปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผลซึ่งจะทำให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ เรื่องนี้เรียนรู้ผ่านนกเพนกวินและตัววอลรัส (เก๋เพิ่งรู้จักเจ้าตัววอลรัสก็คราวนี้อ่ะค่ะ ปกติเรียกแมวน้ำ  555)

 

 

เล่มที่ 2 เรื่อง The Lemming Dilemma : สภาวะลำบากของหนูเลมมิงจ์ ใช้ชีวิตอย่างมีจุดประสงค์ นำอย่างมีวิสัยทัศน์ 

เป็นหนังสือนิทานที่อธิบายเรื่องของ วินัยเรื่อง "ความเป็นเลิศส่วนบุคคล (Personal Mastery)"   นั่นคือความสามารถในการสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องในผลงานตามที่คุณต้องการในชีวิตบนแนวทางที่คุ้มค่ากับความพยายาม สำหรับองค์กรต่างๆ  Personal Mastery ความเป็นเลิศส่วนบุคคลจะเป็นเรื่องของภาวะผู้นำ ที่สามารถเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ขององค์กร share vision วิสัยทัศน์ร่วม

 ด้วย

 

เล่มที่ 3 เรื่อง Shadows of the Neanderthal : เงาแห่งยุคหิน การให้ความกระจ่างแก่ความเชื่อ ที่จำกัดองค์กรของเรา 

เป็นหนังสือนิทานที่อธิบายเรื่องของ วินัยเรื่อง "รูปแบบความคิด (Mental Model)" เป็นการค้นหาว่า ทำไมคนยังยึดติดกับความเชื่อต่างๆ รูปแบบการคิดซึ่งจำกัดความสามารถในการแบ่งปันความเข้าใจ การพัฒนา ตลอดจนการตระหนักและเรียนรู้ว่าจะเปิดเผย แบ่งปัน และท้าทายความเชื่อที่ซ่อนอยู่ของเราและผู้อื่นได้อย่างไร เป็นต้น

 

เล่มที่ 4  เรื่อง  Out learning the Wolves : ฉลาดเกินหน้าหมาป่า การอยู่รอดและเติบโต ในองค์กรแห่งการเรียนรู้ 

เป็นหนังสือนิทานที่อธิบายเรื่องของ วินัยเรื่อง "การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)"  เป็นเรื่องเกี่ยวกับองค์กร ซึ่งอาจคล้ายกับองค์กรต่างๆ เช่น มีการแยกเป็นส่วนๆ มีการแข่งขันกัน แยกกันทำงาน หรือบางส่วนยอมจำนวน  แต่เมื่อสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้  การมีส่วนร่วมของคนในองค์กรต่างจะเป็นประโยชน์ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

 

 

เล่มที่ 5  เรื่อง Listening to the Volcano : สดับเสียงภูเขาไฟ การสนทนาที่เปิดใจ รับความเป็นไปได้ใหม่ๆ 

เป็นหนังสือนิทานที่อธิบายเรื่องของ "สุนทรียสนทนา (Dialogue)"  การสนทนาที่มีความหมาย ซึ่งต้องการค้นหาและสร้างความคิดที่ดีที่สุดให้กับองค์กร การฟังกันและกัน เพื่อจุดประกายและแบ่งปันแนวคิดที่ให้ผลประโยชน์ ช่วยการตัดสินใจและแก้ปัญหาต่างๆ  การสร้างความไว้วางใจเพื่อสร้างผลการปฏิบบัติงานต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

 

หนังสือชุด วินัย 5 ประการ สำหรับองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ฉบับนิทานนี้ อ่านง่าย และนำมาใช้ในการพัฒนาตัวเองได้เป็นอย่างดีค่ะ ท่านที่อ่านสามารถนำหลักการแนวคิดไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organzation) สู่องค์กรนวัตกรรม (Innovation organization) ได้ค่ะ

 

ถามเก๋ว่า ชอบอ่านเรื่องไหนมาก หรือประทับใจอันไหนมาก : 

- เรื่องที่ชอบ เรื่อง The Tip of the Iceberg ยอดของภูเขาน้ำแข็ง : การจัดการพลังซ่อนเร้นซึ่งอาจสร้างหรือทำลายองค์กรของคุณ เป็นเรื่องของการคิดเชิงระบบ (System thinking) อ่านแล้วได้คิดเยอะดีค่ะ ทั้งการคิดเชิงระบบ (System thinking) ซึ่งโยงไปถึงการคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic thinking) ด้วยค่ะ

- ส่วนเรื่องที่ประทับใจ และอ่านง่ายๆ คือ  เรื่อง  Out learning the Wolves : แกะกับหมาป่า ทำอย่างไรที่แกะจะฉลาดเกินหน้าหมาป่า สามารถอยู่รอดและเติบโต สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ในฉบับแกะๆได้ค่ะ 

 

เก๋ได้นำหลักการในหนังสือเหล่านี้มาใช้และแบ่งปันในหลักสูตรการคิดเชิงระบบ และการพัฒนาองค์กรนวัตกรรมด้วย โดยเฉพาะหลักสูตรการคิดเชิงระบบ (System Thinking) เพื่อพัฒนานวัตกรรมในองค์กร (Innovation in Organization) ค่ะ ลองหามาอ่านดูนะคะ

....................................

- สนใจหลักสูตร "  Design Thinking for Innovation Developmentวิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร " Analytical Thinking ทักษะการคิดวิเคราะห์ " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร " Critical thinking  ทักษะการคิดวิพากษ์ " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร " Creative thinking  to Innovation ทักษะการคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร  ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่   

.....................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994 

Visitors: 360,671