Empathy Map - แผนที่การเข้าใจลูกค้า โดยศศิมา สุขสว่าง
Empathize เป็น การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง เข้าใจในปัญหา ความกังวล (Pain Point) ความต้องการ (Gain Point) ความจำเป็น อารมณ์ความรู้สึก การกระทำที่ออกมา ความหมายในสายตาของกลุ่มเป้าหมาย
เครื่องมืออีกเครื่องมือหนึ่งที่สามารถทำให้เราสามารถเข้าใจกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้า นั่นก็คือ "Empathy Map" หรือ "แผนที่การเข้าใจลูกค้า "ที่แสดงให้เห็นถึงความต้องการ, ปัญหาที่แท้จริง ในด้านต่างๆ สามารถใช้ในการวิเคราะห์ ความคิด ความรู้สึก พฤติกรรมและ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้ ซึ่งจะส่งผลให้เราเข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริง และสามารถคิดสิ่งใหม่ๆ หรือนวัตกรรมใหม่ๆที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ตรงใจที่สุด
ใน "Empathy Map" หรือ "แผนที่การเข้าใจลูกค้า " มีส่วนประกอบดังนี้
1. Think and Feel ลูกค้าคิดและรู้สึกอย่างไร?
- ทำความเข้าใจว่า ในความคิดและความรู้สึกของลูกค้าอะไรคือสิ่งที่สำคัญสำหรับกลุ่มเป้าหมาย
- ความรู้สึก คุณค่า ที่ให้ ความกลัว ความเชื่ออะไรที่มีผลต่อลูกค้า
- ความฝันหรือความต้องการลึกๆของลูกค้าคืออะไร
2. Hear ลูกค้าได้ยินอะไร?
- ลูกค้าได้ยินเรื่องราวต่างๆในปัจจุบันจากใครบ้าง
- เรื่องราวที่ได้ยิน คืออะไร
- สื่อด้านไหน Social media อะไรที่เขาได้ยิน (และมีผลต่อความคิดและการกระทำของเขา)
3. See ลูกค้ามองเห็นอะไร?
- ในทุกวัน ลูกค้าเห็นอะไรบ้าง
- เห็นจากที่ไหนหรือสื่อออะไร
- สิ่งที่เห็นมีผลอะไรต่อตัวเขา
- ปัญหาอะไรที่ลูกค้ามักจะเห็นเป็นประจำ
4. Say and Do ลูกค้าพูดและทำอะไรบ้าง?
- อะไรคือพฤติกรรมที่ลูกค้าแสดงออก หรือพูดออกมา
- ลูกค้าพูดถึงเรื่องอะไรบ้าง
- เล่าเรื่องอะไรให้คนอื่นฟังบ้าง
- อยากให้คนอื่นพูดถึงตัวเองอย่างไรบ้าง
- และทำอะไรบ้าง
5. Pain จุดเจ็บปวด หรือปัญหาของคุณลูกค้าคืออะไร
- อะไรคือปัญหา หรือสิ่งที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดกับลูกค้ามากที่สุด
6. Gain สิ่งที่ลูกค้าต้องการได้รับคืออะไร
- อะไรที่ลูกค้าต้องการ อยากได อยากมี หรืออยากสำเร็จในชีวิต
และการทำจะได้ข้อมูลมาใส่ใน Empathy map ก็มาจาก วิธีการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายนี้ สามารถใช้ได้หลายวิธี เช่น Observe - การสังเกตพฤติกรรม Ask and Listen - การถามและการฟังอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้เข้าใจเป้าหมายและประเด็นที่ต้องการแก้ไข Immerse – การเข้าถึงใจ (จุ่มแช่) Interview - สัมภาษณ์ หรือวิธีอื่น เป็นต้น (อ่านวิธีอื่น กดที่นี่)
ในแต่ละครั้งที่ อ.เก๋ และทีมงาน นำ Workshop จะให้วาดภาพนี้เป็นภาพใหญ่บนฟลิปชาร์ต แล้วให้สมาชิกในกลุ่มระดมสมองกันค่ะ จะทำให้คนในกลุ่มเข้าใจลูกค้าได้ดีขึ้น เข้าใจความคิด ความรู้สึกลึกๆของลูกค้าได้ชัดขึ้น และออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือแผนธุรกิจ หรือนวัตกรรมใหม่ๆได้ดียิ่งขึ้นค่ะ
Empathy Map สามารถเอาไปใช้ในการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายใดได้บ้าง กับหน่วยงานใดบ้างทั้งในและนอกองค์กร อ.เก๋ขอแชร์ที่เคยนำไปใช้ดังนี้ค่ะ
ตัวอย่างการนำ Empathy Map ไปใช้
- ส่วนงาน Marketing/Sale ที่ต้องการเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหา ความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้า เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้ตรงใจ
- ส่วนงาน HRD/HRM วิเคราะห์ปัญหา และความต้องการของคนในองค์กร เพื่อพัฒนาหลักสูตรใหม่ๆให้ตรงใจ พัฒนาการทำงานใหม่ๆให้แก้ปัญหาคนในองค์กรได้ หรือใช้ในการเข้าใจคน Generation ต่างๆในองค์กร เพื่อแก้ปัญหาเรื่อง Generation Gap ได้ เป็นต้น
- ส่วนงานพัฒนานวัตกรรม / R&D วิเคราะห์ เพื่อให้เข้าใจปัญหาและความต้องการของลูกค้า เพื่อพัฒนานวัตกรรม ให้สามารถแก้ปัญหา และโดนใจได้
- คนทำงานทั่วไป ใช้วิเคราะห์หัวหน้า ผู้บังคับบัญชา เพื่อจะได้เข้าใจหัวหน้าอย่างลึกซึ้ง และทำงานให้ตรงใจ และเข้าขากันได้ (มีคนเอาไปใช้จริงๆนะคะ และใช้ได้ดีด้วยค่ะ)
- พ่อค้า แม่ค้า วิเคราะห์ลูกค้า เพื่อหาของมาขายให้ตรงใจ
- อันนี้เด็ดสุด มีคนที่เรียนกับอ.เก๋เอาไปวิเคราะห์หนุ่ม (สาว) ที่กำลังจีบกันอยู่ เพื่อให้เข้าใจ และวิเคราะห์การจีบให้มีประสิทธิภาพ อันนี้ ฮาจริงๆ มีความคิดสร้างสรรค์และประยุกต์ใช้ได้กับชีวิตประจำวัน
เก๋หวังว่า บทความนี้จะช่วยมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจวิธีการ แนวคิดในการนำความรู้ไปพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ พัฒนานวัตกรรม ตลอดจนการพัฒนาตัวเอง ทีมงาน และประสิทธิภาพการทำงานให้กับองค์กรนะคะ
.................................................................
- สนใจหลักสูตร " Design Thinking for Innovation Development" วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่
- สนใจหลักสูตร " Creative to Innovation การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่
- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่
.....................................................
ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี ทำงานด้าน Research & Development Engineer มาโดยตลอด และเป็นผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กรอิสระแห่งหนึ่ง ได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน โดยยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)
...........................................
ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่
ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com
line ID : sasimasuk.com
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994
-
หลักสูตร "Design Thinking for Innovation Developmentพัฒนานวัตกรรมด้วย Design Thinking" วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง (เนื้อหาโดยอ.ศศิมา สุขสว่าง - อ. เก๋ - หากนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิช...
-
Design Thinking คือ กระบวนการคิดเชิงออกแบบสำหรับพัฒนานวัตกรรมที่ผสมผสานการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) และการคิดเชิงธุรกิจ (Business thinking) เพื่อพัฒนาสิ่งใหม่ๆและนวัตกรรมอย...
-
Design Thinking เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรมได้เป็นอย่างดี โดยเน้นเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานหรือกลุ่มเป้าหมายเป็นจุดศูนย์กลาง (Human Centered) Design Thinking เป็นกร...
-
ในปัจจุบัน กระแสของ Design thinking ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งในการพัฒนานวัตกรรม ได้เป็นที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นเครื่องมือที่มีรวมกระบวนการทั้งด้านวิทย์และธุรกิจมารวมกัน ...
-
ปัจจุบัน Design thinking เป็นกระบวนการหนึ่งในการพัฒนานวัตกรรม ที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นเครื่องมือที่มีรวมกระบวนการทั้งด้านวิทย์และธุรกิจมารวมกัน โดยโดยเน้นเพื่อตอบโจทย...
-
ปัจจุบัน Design thinking เป็นกระบวนการหนึ่งในการพัฒนานวัตกรรม ที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นเครื่องมือที่มีรวมกระบวนการทั้งด้านวิทย์และธุรกิจมารวมกัน โดยโดยเน้นเพื่อตอบโจทย...
-
Design Thinking เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนานวัตกรรมด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่ผสมผสานการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) และการคิดเชิงธุรกิจ (Business thinking) ที่เน้นคนแล...
-
ทักษะการฟังอย่างเข้าใจเชิงลึก (Empathic Listening)เพื่อค้นหาความต้องการของลูกค้าและพัฒนานวัตกรรมนั้นเป็นทักษะที่สำคัญอีกทักษะหนึ่งในกระบวนการการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่...
-
Design Thinking เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรมโดยเน้น การแก้ปัญหาเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานหรือกลุ่มเป้าหมายเป็นจุดศูนย์กลาง (Human Centered หรือ People Centered) (เนื้...
-
การระดมสมอง หรือการระดมความคิด (Brainstorm) เพื่อปลุกไอเดียสร้างสรรค์ เป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการระดมความคิดเพื่อหาไอเดียสร้างสรรค์ไหม่ๆ หรือใช้ในระดมความคิดเพื่อแก้ไขปัญหา ...
-
หลังจากที่เราได้พัฒนาต้นแบบใหม่ๆหรือนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อที่จะนำไปพัฒนาเพื่อเป็นนวัตกรรมของบริษัทนั้น คนแรกที่เราจะต้องขายไอเดียให้ได้ก่อน อาจจะเป็น หัวหน้าเรา ผู้จัดการ ผู้อำนวยการห...
-
เราเคยเห็นเกมโชว์ที่ มีคำอธิบายเป็นประโยค แล้วให้คนที่ 1 อ่าน แล้วคนที่ 1 ต้องถ่ายทอดต่อไปคนที่ 2 แล้วคนที่ 2 บอกต่อไปคนที่ 3 ต่อไปเรื่อยๆจนถึงคนสุดท้าย สรุปสุดท้ายประโยคที่กำหนด ก...
-
หลายครั้งที่เก๋ไปแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรื่องของการพัฒนานวัตกรรมโดยใช้ Design thinking ซึ่งหลักการคือต้อง Empathy ลูกค้า ลูกน้อง หรือ Stake holder เพื่อให้เข้าใจปัญหาและ Pain Point จ...
-
คุณค่า คือสัมการของการลดหรือบรรเทาจุดเจ็บปวดของลูกค้า + การสร้างสรรค์ผลตอบแทน + ผลิตภัณฑ์ / บริการที่พัฒนาให้กับลูกค้า หรือ เขียนเป็นสัมการ คือ Value = Pain Relief + Gain Creation...
-
หลายครั้งที่เราได้รับรู้ปัญหา และ Pain Point ของลูกค้าแล้ว ซึ่งมันอาจจะเยอะไปหมด จนไม่รู้ว่าจะแก้ไขปัญหาไหนก่อนหลัง ให้มีประสิทธิภาพและ impact ที่จะเกิดประโยชน์ที่สุดทั้งต่อลูกค้าแ...
-
วันนี้เก๋มาแบ่งปัน เทคนิค 10-Minute Time-jump หรือการข้ามเวลา 10 นาที เป็นวิธีที่ใช้สังเกตพฤติกรรมของลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เข้าใจสภาวะ ความรู้สึก ปัญหา Pain , Gain ของลูก...